“น้ำตาล” กินอย่างไรให้ไม่อ้วน ถือว่าน้ำตาลนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญในการปรุงอาหารทั้งคาวทั้งหวานหรืออยู่ในเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่รับประทานในชีวิตประจำวัน ซึ่งหากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมก็จะไม่ก่อให้เกิดผลเสีย แต่ถ้าบริโภคในปริมาณที่เกินความเหมาะสมก็จะทำให้เกิดผลเสียตามมา
น้ำตาล คืออะไร?
น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่เป็นแหล่งพลังงานให้กับร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.น้ำตาลธรรมชาติ
- น้ำตาลฟรุกโตสที่อยู่ใน ผักและผลไม้
- น้ำตาลแลคโตสที่มีอยู่ในนม
- น้ำตาลมอลโตสที่มีอยู่ในมอลต์
2.น้ำตาลเติมเพิ่ม
- น้ำตาลทรายผ่านกระบวนการผลิตมาจากอ้อยและเติมเข้าไปในเครื่องดื่มหรืออาหาร
- น้ำหวานดอกมะพร้าว ( coconut syrup ) ผ่านกระบวนการผลิตและเติมเข้าไปในเครื่องดื่มหรืออาหาร
- น้ำผึ้งที่ต้องนำมาเติมเข้าไปในเครื่องดื่มหรืออาหาร
น้ำตาลธรรมชาติ ความหวานที่มีประโยชน์
น้ำตาลธรรมชาติ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีประโยชน์ ความหวานที่ได้จาก น้ำตาลธรรมชาติ เช่น น้ำตาลแลคโตสที่มีในนม ไม่ว่าจะเป็นนมแม่ นมวัว ฯลฯ หรือผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของนม ซึ่งน้ำตาลแลคโตสจะถูกย่อยที่บริเวณลำไส้เล็กโดยเอนไซม์แลคโตสจากลำไส้เอง จะได้เป็นกลูโคสและกาแลคโตสเพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์เป็นพลังงานและยังช่วยดูดซึมแคลเซียม, แร่ธาตุต่าง ๆ เช่น สังกะสี ทองแดง โดยเฉพาะในเด็กน้ำตาลแลคโตสยังเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ในลำไส้เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของเราดีขึ้น นอกจากน้ำตาลธรรมชาติที่ได้จากพืชผักผลไม้หรือสัตว์แล้ว ยังมีน้ำตาลเติมเพิ่มที่ทำจากธรรมชาติเช่นกันอย่างน้ำหวานดอกมะพร้าว นำมาจากดอกมะพร้าว (coconut syrup)หรือจั่นแล้วนำมากวนในกระทะจนเป็นคาราเมล ซึ่งไม่ได้มีสิ่งแปลกปลอมนอกจากสิ่งที่มาจากธรรมชาติเช่นกัน นำมาสู่ประโยชน์ต่อร่างกายเพราะมีระดับน้ำตาลที่ต่ำ
โรคร้ายที่มาพร้อมกับน้ำตาลไม่ธรรมชาติ
น้ำตาลที่ไม่ได้มาจากธรรมชาตินั้นจะมีระดับน้ำตาลสูง ซึ่งจะนำมาสู่โรคร้ายต่าง ๆ ดังนี้
1.โรคเบาหวาน
ระดับน้ำตาล เป็นสิ่งสำคัญของผู้ป่วยเบาหวาน หากมีภาวะอินซูลินที่รุนแรง จะทำให้ตับอ่อน ไม่สามารถรักษา ระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลงได้ แต่ระดับน้ำตาลในเลือด จะพุ่งสูง และจะทำให้คุณเป็น โรคเบาหวานในที่สุด
2.โรคหัวใจ
เครื่องดื่ม หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงใน การเกิดโรคหัวใจ เพราะน้ำตาล มีผลกระทบต่อ กระบวนการสูบฉีดของหัวใจ เพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ กลูโคส ไขมันเลว และอินซูลิน ในกระแสเลือด
3.โรคอ้วน
ความหวานในร่างกาย จะยิ่งทำให้รู้สึกหิวมากขึ้น และไม่รู้สึกอิ่ม ทำให้ร่างกายต้องการ อาหารตลอดเวลา ซึ่งทำให้ร่างกายของคุณน้ำหนักเพิ่มขึ้น
4.ความดันโลหิตสูง
น้ำตาล จะทำให้ฮอร์โมนแคทีโคลามีน และกรดยูริกสูง เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด โรคความดันโลหิตสูง
5.ไขมันในเลือดสูง
การรับประทานแป้ง และน้ำตาล จะทำให้เกิดการสะสมไตรกลีเซอไรด์ในร่างกาย ทำให้ปริมาณไขมันในเลือดสูงขึ้น
อาหารเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
1.อาหารประเภทเส้น, ข้าว, ขนมปัง
แป้งและน้ำตาล เป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง และเป็นสิ่งที่เราบริโภคทุกวัน ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของ โรคเบาหวาน
2.อาหารรสจัด
อาหารรสจัด โดยการปรุงตามรสชาติที่ถูกปาก นอกจาก อาหารที่เราปรุงเองแล้วก็มีอาหารรสจัดอื่น ๆ เช่น ส้มตำที่อาจจะมีรสชาติที่เปรี้ยว หรือเค็มนำ ซึ่งรสชาติแบบนี้อาจจะใส่น้ำตาลสูง แต่มีรสชาติอื่นกลบอยู่
ทำไมอาหารเหล่านี้ถึงเสี่ยงโรคเบาหวาน
คาร์โบไฮเดรต สามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ระหว่างการย่อยอาหาร เพื่อดูดซึมนำไปใช้งาน และเป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย หากบริโภคในปริมาณที่เกินความเหมาะสมจะทำให้น้ำตาลในร่างกาย หรือในเลือดสูงเกินไปจนทำให้เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน ซึ่งเราสามารถเลือกรับประทาน อาหารคาร์โบไฮเดรต ประเภทเชิงซ้อน จะช่วยย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลได้ช้าลง เพิ่มกากใยอาหารในร่างกายทำให้ส่งผลดีต่อร่างกาย มากกว่าคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว อาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนก็คือ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ข้าวซ้อมมือ เป็นต้น
รู้ลึกเรื่องน้ำตาล
เราต้องบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่พอดีกับร่างกาย โดยการอ่าน และทำความเข้าใจฉลากโภชนาการ ที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจซื้อ หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่น้ำตาลมาก ๆ เน้นบริโภคอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มาจากน้ำตาลธรรมชาติ เลือกซื้อสินค้าที่มีคำว่า “ทางเลือกสุขภาพ” อยู่หน้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่า สินค้าชิ้นนี้มีน้ำตาลอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย
อย่างไรก็ตามการบริโภคน้ำตาลมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างในการที่เราจะดูแลตัวเอง ข้อความข้างต้นทำให้เรารู้แล้วว่า “น้ำตาล” กินอย่างไรไม่อ้วน และบอกถึงอาหารการกินของเราในชีวิตประจำวันที่ทำให้เสี่ยงอ้วนได้เช่นกัน
น้ำหวานดอกมะพร้าวออร์แกนิค ตราแมนเนเจอร์ (Organic Coconut Syrup By ManNature)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก sanook
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
Tag :
บทความที่แนะนำ