ร้อนนี้กิน 'ไอศกรีม' มากไป ระวัง!! น้ำหนักเกิน
Share: facebook_share line_share twitter_share messenger_share

ร้อนนี้กิน 'ไอศกรีม' มากไป ระวัง!! น้ำหนักเกิน


ทานใดที่ชอบรับประทาน ไอศกรีม วันนี้เราจะเอาความรู้ดี ๆ สำหรับ คนที่อยากลดน้ำหนัก มาเล่าให้ฟัง ว่ามันส่งผลดีหรือป่าว ต่อร่างกายของเรา

        

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ออก ข่าวมา เตือนผู้ ที่น้ำหนัก ตัวเกิน สำหรับ คนที่ชอบ รับประทาน ไอศรีม ควรจำกัด ปริมาณในการ รับประทาน ไอศกรีม เพราะ ไอศกรีม มีส่วนผสมของไขมัน และ น้ำตาลสูง ทำให้ระดับคอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้

 

แต่ก่อนที่เราจะไป ฟังข่าวที่เรา จะมาบอกำนี้นั้น เรามาเข้าใจกันก่อนดี กว่าว่า ไอศกรีม นั่นมันคืออะไร แล้วทำไม คนเขาถึงเรียกกัน ด้วยชื่นนี้ เราจึงจะมาอธิบายกันให้ เข้าใจพอเป็น ความรู้ เพื่อใครที่สนใจ อยากลองศึกษา ดูกันว่าเราเอาข้อมูล เรื่องอะไร ของไอศกรีม มาให้อ่านบ้าง

 

สำหรับ ความรู้ ของเรื่อง ไอศกรีม ที่เราจะมาบอกให้เข้าใจ กันนั้น ก่อนอื่นเลย คำว่า ไอศกรีม หรือ ภาษาอังกฤษ ที่ถูกเรียกกันทุก ๆประเทศ นั้นก็คือ  ice cream หรือภาษ าปากว่า ไอติม เป็นของหวาน แช่แข็งชนิดหนึ่ง ได้จากการ ผสมส่วนผสม นำไปผ่านการ ฆ่าเชื้อ แล้วจาก นั้นนำไป ปั่นในที่ เย็นจัด เพื่อเติมอากาศ เข้าไปพร้อม ๆ กับการ ลดอุณหภูมิ โดยอาศัย เครื่องปั่นไอศกรีม ไอศกรีมตัก โดยทั่วไป นั้น มันจะต้องผ่านขั้นตอนการ แช่เยือกแข็ง อีกครั้งก่อน ที่เรา นั้นจะ นำมาขาย หรือ นำเอาไป รับประทาน  

 

คำว่า ไอศกรีม มันจะอ่านและสะกด อ่านว่า ไอ - สะ - กฺรีม ที่มาจาก มาจากคำภาษาอังกฤษว่า ice-cream  สำหรับ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้เขียนเป็น ภาษาไทยว่า ไอศกรีม และ ซึ่งเป็นคำที่เขียนกันมาแต่เดิม ไอศกรีม เป็นชื่อ ขนมอย่าง หนึ่งทำด้วยครีม นม น้ำตาลเป็นต้น และนำเอามา  ผสมกัน เป็นรสชาติ ต่าง ๆอยู่ทาสูตร การคิดของแต่ละ คน แล้ว หลังจากนั้นก็ทำการ ปั่นให้ข้นใน อุณหภูมิต่ำ อาจเติมรส สี และ กลิ่นต่าง ๆ ได้ตามชอบ  เช่น ไอศกรีมช็อกโกแลต ไอศกรีมกาแฟ ไอศกรีมวานิลลา ถ้า เรานั้น ใช้ น้ำกะทิ แทนครีม ก็จะเรียกว่า ไอศกรีมกะทิ ถ้าใส่เครื่องอย่างอื่น ๆ ประสมคุณ ก็อาจเรียกตามชื่อเครื่องประสมนั้น ๆ เช่น ไอศกรีมเม็ดแมงลัก ไอศกรีมทุเรียน ไอศกรีมข้าวโพด ไอศกรีมเผือก และสำหรับ ภาษาปาก หรือ ภาษาพูดมักจะเรียกว่า ไอติม และ บางครั้ง ไอติม จะหมายถึงไอศกรีม ชนิดที่ไม่ใส่ครีมหรือนมด้วย เช่น ไอติมแท่ง ไอติมหลอด อีกด้วยนั่นเอง

 

เป็นยังไงบ้างกับความรู้ เรื่อง ไอศกรีม ที่เรานำมา เล่าให้ฟัง สำหรับ ใครที่อยากไม่รู้ คงต้อง ว้าวกันอย่างแน่นอน เพราะ มันเป็นของหวาน ที่ใคร ๆ ก็หลงรัก และ หลงใหล กันแต่วันนี้เรามีข่าวมาเตือน สำหรับ คนที่รับประทาน ไอศกรีม มากจนเกินไป เพราะมันอาจเกิดอันตราย ต่อสุขภาพร่างกายของเราได้ ไปฟังข่าวที่เราจะมาเล่าให้ฟันกันก่อนดีกว่า

 

          แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ไอศกรีมเป็นของหวานที่ช่วยสร้างความสดชื่นในหน้าร้อนได้เป็นอย่างดี เพราะมีส่วนประกอบหลัก คือ ครีม น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม เช่น โยเกิร์ต นมผง นมเปรี้ยว แถมยังมีสารที่ให้รสชาติหวาน เช่น กลูโคส ไซรัป ฟรุกโตส น้ำผึ้ง หรืออาจมีน้ำมันพืช ไข่ กะทิเพิ่มด้วย หากบริโภคมากเกินไปอาจทำให้ผู้บริโภคน้ำหนักเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงไอศกรีมที่มีไขมันสูง และควรระวังน้ำตาลที่อยู่ในไอศกรีมด้วย เนื่องจากไอศกรีมบางประเภทในโฆษณาว่ามีไขมัน 0% แต่กลับมีน้ำตาลสูงถึง 3.5-6.5 ช้อนชา จึงไม่ควรกินบ่อย

 

          ทั้งนี้ ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง ควรเลือกกินไอศกรีมที่มีไขมันน้อยหรือไม่มีไขมันเลย เช่น ไอศกรีมเชอร์เบต และสำหรับผู้ที่มีไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง ควรกินไอศกรีมเป็นครั้งคราวและจำกัดปริมาณไอศกรีมทุกชนิด เนื่องจากส่วนผสมของไขมันและน้ำตาลที่มีอยู่ในปริมาณมากมีผลทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้ สำหรับผู้ต้องการลดน้ำหนัก ควรหลีกเลี่ยงไอศกรีมที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เนื่องจากไอศกรีมดัดแปลง 1 แท่ง ประกอบด้วยไขมันอิ่มตัว นมผง หางนม น้ำตาล ซึ่งให้พลังงาน 150 -230 กิโลแคลอรี มีน้ำตาลอยู่ 4-5 ช้อนชา โดยใน 1 วัน ไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา และก่อนซื้อควรดูฉลากโภชนาการเป็นส่วนประกอบก่อนการบริโภค เพื่อให้ทราบปริมาณพลังงาน น้ำตาลและไขมัน จะได้หลีกเลี่ยงไม่ให้กินมากเกินไปและเลือกกินไอศกรีมจากผู้ผลิตที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ เพื่อลดความเสี่ยงโรคระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากไอศกรีมที่ไม่สะอาด

 

          แม้ไอศกรีมจะช่วยคลายร้อนแต่ก็ควรกินไอศกรีมในปริมาณที่พอดี จะได้ไม่เกิดโทษแก่สุขภาพ เพราะถ้ากินในสัดส่วนที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายอาจทำให้เกิดโรคอ้วนตามมาได้

 

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก

น้ำหวานดอกมะพร้าวออร์แกนิค ตราแมนเนเจอร์ (Organic Coconut Syrup By ManNature)

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

กาแฟเย็น ตัวการพาอ้วน

6 ทริคเลือกดื่มกาแฟอย่างไรให้สุขภาพดี


Tag :


บทความที่แนะนำ