เบาหวาน เป็นโรคที่พบมากในปัจจุบันและโรคนี้ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสิ่งต่างๆตามมาได้หลายประการ การเกิดแผลเบาหวานก็สำคัญไม่แพ้กันเพราะแผลเบาหวานนั้นจะลุกลามและติดเชื้อได้ง่าย แน่นอนว่าถ้าติดเชื้อแล้วจะยิ่งหายากไปอีก ทางที่ดีเราควรดูรักษาให้ดีอย่าละเลยจนเกิดบาดแผล
แผลเบาหวาน เป็นบาดแผลเรื้อรัง ที่พบได้บ่อย สาเหตุหลัก ๆ มักจะเกิดกับ ผู้เป็นเบาหวาน ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นเวลานาน มีความเสี่ยงที่ ระบบประสาทส่วนปลาย รวมถึง หลอดเลือดส่วนปลาย จะเสียหาย ส่งผลให้เส้นเลือดตีบ และอุดตัน ในที่สุด เมื่อเท้าเกิดการขาดเลือด ส่งผลให้แผลหายยาก เพราะไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยง
นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีระบบประสาท รับความรู้สึกเสื่อมรับความรู้สึกได้น้อยลง หรือไม่ได้เลย จึงเกิดอาการชา ไม่รู้สึกเจ็บ เมื่อสัมผัส ความร้อนหรือเย็น มีแผล หรือแม้กระทั่งบางอย่างที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ เช่น เล็บขบ เป็นสาเหตุทำให้ เกิดบาดแผล และติดเชื้อได้ง่าย เมื่อเป็นแผลที่เท้าในช่วงแรก มักไม่รู้สึก กว่าจะรู้ตัวแผลก็ลุกลามไปมากแล้ว ทำให้รักษายาก ขบวนการการรักษาแผลของร่างกาย เป็นไปอย่างล่าช้า อีกทั้งการที่ระบบประสาทสั่งการผิดปกติ ก็ทำให้กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ เท้าเกิดการผิดรูปบิดเบี้ยว เนื้อบริเวณปุ่มกระดูกบางแห่งต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นเกิดเป็นแผลได้เช่นกัน
หากมีการติดเชื้อรุนแรงร่วมด้วย ผู้ป่วย อาจต้องถูกตัดเท้า หรือขา โดยกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิด แผลเบาหวาน คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นแผลเบาหวานเรื้อรังมานาน 5 - 10 ปี ยิ่งเป็นโรคเบาหวานมานานหลายปียิ่งเสี่ยงที่จะเกิดบาดแผล ทั้งนี้ ปัจจัยในการเป็นแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานคือคนที่เป็นโรคเบาหวานเรื้อรังและควบคุมระดับน้ำตาลไม่ค่อยได้ การสูบบุหรี่ อายุที่มากขึ้น แต่ทั้งนี้พบว่า ร้อยละ 85 ของการสูญเสีย สามารถป้องกันได้ โดยการตรวจ ดูแลรักษาแผลแ ละหลอดเลือด ตั้งแต่ระยะแรก
ดังนั้น การตรวจค้นหา และดูแลตั้งแต่ระยะแรก จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพเท้าในผู้เป็นเบาหวาน ดังนั้น ในการป้องกันดูแลแผลเบาหวาน สิ่งสำคัญที่สุด คือ การคุมระดับน้ำตาล และหมั่นตรวจเท้า( foot care ) โดยก่อนนอนต้องคอยตรวจเท้าทุกวัน รวมทั้ง คนไข้ควรมีกระจกดูด้านล่างของเท้า เพื่อส่องบริเวณนิ้วเท้าและใต้เท้าด้วย เพราะอาการชาไม่รู้สึกเจ็บ จะทำให้แผลไม่รบกวน ผู้ป่วย จนกระทั่งลุกลามไปแล้ว สำหรับคนไข้เบาหวาน หากมีบาดแผลเกิดขึ้น ปัญหาที่จะเกิดขึ้นหลัก ๆ มี 2 ประเด็น คือ
1. มีเส้นเลือดตีบหรือตัน ซึ่งทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณเท้าไม่เพียงพอ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเริ่มจากมีอาการปวดน่อง เดินได้เพียงระยะทางสั้น ๆ ต้องนั่งพักเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอ ถ้าผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก ปล่อยให้ลุกลามจนเลือดไปเลี้ยงไม่ได้กลายเป็นแผลเรื้อรัง ซึ่งระยะการลุกลามนั้นขึ้นอยู่กับว่าบาดแผลนั้นขาดเลือดหรือติดเชื้อรุนแรงมากเพียงใด ดังนั้น เมื่อพบแผลหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับเท้าในผู้ป่วยเบาหวานทางที่ดีที่สุด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
2. เนื่องจากคนไข้เบาหวาน จะมีน้ำตาลในเลือดสูง หากไม่ควบคุมน้ำตาล ก็จะยิ่งทำให้แผลเกิดการติดเชื้อได้ง่ายและหายยาก
อย่างไรก็ตาม วิธีที่รักษาแผลจากเบาหวานได้ดีที่สุด คือ การป้องกัน เราควรควบคุมน้ำตาลให้ดี หมั่นทำความสะอาดเท้า ตรวจเท้า และฝ่าเท้าทุกวัน ทาครีมไม่ให้เท้าแห้งแตก จนเกิดแผล หากมีเท้าที่ผิดรูปอาจต้องใส่รองเท้าพิเศษสำหรับผู้ป่วยเพื่อให้รับกับรูปเท้า และป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เมื่อเกิดแผลก็ไม่ควรรีรอ และรักษาเองจนลุกลาม ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ทันท่วงที
สุขภาพที่ดี เริ่มได้ที่ตัวคุณ ด้วยความปรารถนาดีจาก น้ำหวาน ดอกมะพร้าว ออร์แกนิค ตราแมนเนเจอร์ ( Organic Coconut Syrup By ManNature )
ขอบคุณข้อมูลจาก komchadluek
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
Tag :
บทความที่แนะนำ